เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 5. อนังคณสูตร

นับถือ บูชาภิกษุนั้นเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้ ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ ภาชนะสำริดที่เขานำมา
จากร้านตลาดหรือจากตระกูลช่างทอง เป็นของบริสุทธิ์ผ่องใส พวกเจ้าของพึงใส่ซากงู
ซากสุนัข หรือซากศพมนุษย์จนเต็มภาชนะสำริดนั้น ปิดด้วยภาชนะสำริดใบอื่นแล้ว
นำไปยังร้านตลาด คนเห็นภาชนะสำริดนั้นแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญ
สิ่งที่ท่านนำไปนี้คืออะไร ดูเหมือนจะเป็นของที่น่าพอใจอย่างยิ่ง' เขาลุกขึ้นเปิดภาชนะ
สำริดนั้นดู ความไม่พอใจ ความเป็นของปฏิกูล และความเป็นของน่ารังเกียจจึงเกิดขึ้น
พร้อมกับการเห็นซากงูเป็นต้นนั้น แม้คนที่หิวก็ไม่ต้องการจะบริโภค ไม่ต้องกล่าว
ถึงคนที่บริโภคอิ่มแล้ว แม้ฉันใด อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังละไม่ได้ ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ แม้ภิกษุนั้นจะเป็นผู้อยู่ป่า
เป็นวัตร มีเสนาสนะอันสงัด ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก
นุ่มห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ครองจีวรเศร้าหมองก็ตาม เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็
ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุรูปนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอิจฉาวจร
ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่ภิกษุรูปนั้นยังละไม่ได้ ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่
[62] อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว
ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่ แม้เธอจะอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน รับนิมนต์ ครองจีวร
ของคหบดีก็ตาม เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นภิกษุรูปนั้นละได้แล้ว ยังปรากฏ
และเล่าขานกันอยู่ ภาชนะสำริดที่เขานำมาจากร้านตลาดหรือจากตระกูลช่างทอง
เป็นของบริสุทธิ์ผ่องใส เจ้าของใส่ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีทั้งหลาย ที่เลือกของสกปรก
ออกแล้วใส่แกงและกับข้าวหลายอย่างจนเต็มภาชนะสำริดนั้นปิดด้วยภาชนะสำริด
ใบอื่นแล้วนำไปยังร้านตลาด คนเห็นภาชนะสำริดนั้นแล้วพึงพูดอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้
เจริญ สิ่งที่ท่านนำไปนี้คืออะไร ดูเหมือนจะเป็นของที่น่าพอใจอย่างยิ่ง' เขาลุกขึ้น
เปิดภาชนะสำริดนั้นดู ความพอใจ ความเป็นของไม่น่าปฏิกูล และความเป็นของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :53 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค] 5. อนังคณสูตร

ไม่น่ารังเกียจจึงเกิดขึ้นพร้อมกับการเห็นข้าวสุกแห่งข้าวสาลีนั้น แม้คนที่บริโภคอิ่ม
แล้วก็ต้องการบริโภค ไม่ต้องกล่าวถึงคนที่หิวเลย แม้ฉันใด อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่
แม้เธอจะอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน รับนิมนต์ ครองจีวรของคหบดีก็ตาม เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายก็สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอิจฉาวจร
ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่ภิกษุรูปนั้นละได้แล้ว ยังปรากฏและเล่าขานกันอยู่"

อุปมาด้วยบุตรช่างทำรถ

[63] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าว
กับท่านพระสารีบุตรว่า "ท่านสารีบุตร อุปมาปรากฏขึ้นแก่กระผม"
ท่านพระสารีบุตร จึงกล่าวว่า "ท่านมหาโมคคัลลานะ ขอให้อุปมาปรากฏขึ้น
แก่ท่าน ท่านจงกล่าวอุปมานั้นเถิด1"
ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุ สมัยหนึ่งกระผมอยู่
ในเขตกรุงราชคฤห์ซึ่งมีภูเขาล้อมดุจคอกวัว ครั้นในเวลาเช้า กระผมครองอันตร-
วาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นบุตรช่างทำรถชื่อ
สมีติถากกงล้อรถอยู่ อาชีวกผู้เป็นบุตรของนายปัณฑุ ซึ่งเป็นช่างทำรถคนเก่ายืน
อยู่ใกล้นายสมีติ ครั้งนั้น อาชีวกนั้นได้เกิดความคิดขึ้นในใจอย่างนี้ว่า 'โอหนอ
ขอบุตรของช่างทำรถชื่อสมีตินี้พึงถากส่วนโค้ง ส่วนคดและกระพี้แห่งกงล้อนี้ออกเสีย
เมื่อเป็นเช่นนี้ กงล้อนี้ก็จะหมดโค้ง หมดคด หมดกระพี้ มีแต่แก่นล้วน ๆ' บุตร
ของช่างทำรถชื่อสมีติก็ถากส่วนโค้ง ส่วนคดและกระพี้แห่งกงล้อนั้นได้เหมือนอย่าง
ที่อาชีวกนั้นมีความคิดขึ้นในใจ ครั้งนั้น อาชีวกนั้นได้เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า
'นายสมีติถากเหมือนรู้ใจ'
อย่างนั้นนั่นแล ท่านผู้มีอายุ บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธาต้องการที่จะมีชีวิตอยู่
(ในโลกนี้) ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่ด้วยศรัทธา เป็นคนโอ้อวด มีมารยา

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/169/284

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :54 }